วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

1.5 ประเภทของไฟฟ้า

 1. 5   ประเภทของไฟฟ้า
แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

 1. ไฟฟ้าสถิต
         ซึ่งเกิดจากการนำวัตถุ 2 ชนิด มาขัดถูหรือเสียดสีกัน วัตถุแต่ละชนิดจะมีประจุไฟฟ้าบวก ( + ) และประจุไฟฟ้าลบ ( - ) อยู่ในตัวเท่า ๆ กัน เรียกว่า เป็นกลาง เมื่อเกิดเสียดสีขึ้นประจุไฟฟ้าลบ ( - ) ที่เบากว่าประจุไฟฟ้าบวก ( + ) ก็จะเคลื่อนที่ระหว่างวัตถุทั้งสอง ทำให้แสดงอำนาจไฟ-ฟ้าขึ้นประจุไฟฟ้าในวัตถุทั้งสอบก็จะไม่เป็นกลางอีกต่อไป วัตถุชนิดหนึ่งแสดงประจุไฟฟ้าบวกและอีกชนิดหนึ่งแสดงประจุไฟฟ้าลบ พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดแรงดูดหรือแรงผลัก ถ้านำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันมาใกล้กันจะเกิดแรงผลักแต่ถ้ามีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะเกิดแรงดูดซึ่งกันและกัน เช่น แท่งอาพันจะถ่ายอิเล็กตรอนให้แก่ผ้าขนสัตว์แท่งอาพันจึงมีประจุลบ และผ้าขนสัตว์มีประจุบวก 
รูปภาพไฟฟ้าสถิต
ที่มา  http://electricity-basic.blogspot.com/2012/10/blog-post_26.html

2. ไฟฟ้ากระแส
            เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสมีหลายวิธี ได้แก่
            1.2 ไฟฟ้ากระแส เป็นไฟฟ้าที่เกิดจากการไหลของอิเล็กตรอนจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า โดยไหล ผ่านตัวนำ ไฟฟ้าไปยังที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งเกิดขึ้นได้จากแรงกดดัน  ความร้อน  แสงสว่าง ปฏิกิริยา เคมีและอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า ไฟฟ้ากระแสแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
                    1) ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของกระแส และขนาดคงที่ตลอดเวลา แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงที่รู้จักกันดี  เช่น แบตเตอรี่ถ่านไฟฉาย การเปลี่ยน กระแสไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ต้องใช้ตัวแปลงไฟ ( Adapter)

                                                                                       รูปภาพไฟฟ้ากระแสตรง
ที่มา  http://www.vcharkarn.com/vcafe/181991

                    2) ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC) เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของ กระแสสลับไปสลับมาและขนาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไฟฟ้ากระแสสลับได้นำมาใช้ภายในบ้าน สำนักงาน ต่าง ๆ เช่น ระบบแสงสว่าง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์  พัดลม เป็นต้น
                                                                                          รูปภาพไฟฟ้ากระแสสลับ
ที่มา  https://geonoi.wordpress.com/tag

การกำเนิดไฟฟ้า
             แหล่งกำเนิดไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่สามารถจ่ายพลังงานให้แก่ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนี่ต่อกับแหล่งกำเนิดนั้น ซึ่งนิยมบอกแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 6 วิธีดังนี้
1 เกิดจากการเสียดสี (Friction)
2 เกิดจากการทาปฏิกิริยาทางเคมี (Chemicals)
3 เกิดจากความร้อน (Heat)
4 เกิดจากแสงสว่าง (Light)
5 เกิดจากแรงกดดัน (Pressure)
6 เกิดจากสนามแม่เหล็ก (Magnetism)

       1.1 ไฟฟ้าเกิดจากการเสียดสี
      ไฟฟ้าเกิดจากการเสียดสี เป็นไฟฟ้าที่ถูกค้นพบมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว เกิดขึ้นได้จากการนาวัตถุต่างกัน 2 ชนิดมาขัดสีกัน เช่น จากแท่งยางกับผ้าขนสัตว์ แท่งแก้วกับผ้าแพร แผ่นพลาสติกกับผ้าและหวีกับผม เป็นต้น
ที่มา http://www.kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-05.html
         1.2 ไฟฟ้าเกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี
         เมื่อนำโลหะ 2 ชนิดที่แตกต่างกันเช่นสังกะสีกับทองแดงจุ่มลงในสารละลายอิเล็กโทรไลท์ โลหะทั้งสองจะทำปฏิกิริยาเคมี กับสารละลายอิเล็กโทรไลท์ โดยอิเล็กตรอน(ประจุลบ)จากทองแดงจะถูกดูดเข้าไปยังขั้วของสังกะสี เมื่อทองแดงขาดประจุลบจะเปลี่ยนความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกทันทีเรียกว่าขั้วบวก ส่วนสังกะสีจะเป็นขั้วลบตามความต่างศักย์ ส่วนประกอบของไฟฟ้าเกิดจากการทาปฏิกิริยาทางเคมีแบบเบื้องต้นนี้ ถูกเรียกว่า โวลตาอิกเซลล์ (Voltaic Cell)   ไฟฟ้าเกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานจริงนั้น ได้นำเอาหลักการของโวลตาอิกเซลล์ไปใช้งาน โดยการสร้างเซลล์ไฟฟ้าที่ให้ศักย์ไฟฟ้าสูงมากขึ้นคือให้แรงดันเพิ่มขึ้น
ที่มา http://www.kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-05.html
            1.3 ไฟฟ้าเกิดจากความร้อน
           ไฟฟ้าเกิดจากความร้อน เกิดขึ้นได้โดยนำแท่งโลหะหรือแผ่นโลหะต่างชนิดกันมา 2 แท่ง หรือ 2 แผ่น เช่น ทองแดง และเหล็ก นำปลายข้างหนึ่งของโลหะทั้งสองต่อติดกันโดยการเชื่อมหรือยึดด้วยหมุด ปลายที่เหลืออีกด้านนาไปต่อกับเข้ามิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า เมื่อให้ความร้อนที่ปลายด้านต่อติดกันของโลหะทั้งสอง ส่งผลให้เกิดการแยกตัวของประจุไฟฟ้า เกิดศักย์ไฟฟ้าขึ้นที่ปลายด้านเปิดของโลหะแสดงค่าออกมาที่มิเตอร์


ที่มา http://www.kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-05.html

              ไฟฟ้าเกิดจากความร้อนที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานจริง เป็นอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) ใช้เพื่อวัดเกี่ยวกับอุณหภูมิ จึงมักเรียกว่า ไพโรมิเตอร์ (Pyrometers) คือเป็นมิเตอร์สาหรับวัดอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยมีเทอร์โมคัปเปิลเป็นตัวตรวจวัดอุณหภูมิส่งแรงดันไฟฟ้าไปแสดงผลที่มิเตอร์
               1.4 ไฟฟ้าเกิดจากแสงสว่าง
สารบางชนิดเมื่ออยู่ในที่มืดจะแสดงปฏิกิริยาใด ๆ ออกมา แต่เมื่อถูกแสงแดดแล้วสารนั้นสามารถที่จะปล่อยอิเล็กตรอนได้ เป็นเวลาหลายสิบปีนักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าแต่ยังนาแสงสว่างมาใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก



1.5 ไฟฟ้าเกิดจากแรงกดดัน
เมื่อเราพูดใส่ไมโครโฟนหรือโทรศัพท์แบบต่าง ๆ คลื่นของความแรงกดดันของพลังงานเสียงจะทาให้แผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนไหว ซึ่งแผ่นไดอะแฟรมจะทาให้ขดลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กจึงทาให้เกิดพลังงานไฟฟ้าซึ่งถูกส่งไปตามสายจนถึงเครื่องรับ ไมโครโฟนที่ใช้กับเครื่องขยายเสียงหรือเครื่องส่งวิทยุก็ใช้หลักการเช่นนี้เหมือนกัน อย่างไรก็ตามไมโครโฟนทุกชนิดมีหลักการทางานที่เหมือนกัน คือใช้เปลี่ยนคลื่นแรงกดของเสียงให้เป็นไฟฟ้าโดยตรงนั่นเอง ผลึกของวัตถุบางอย่างถ้าถูกกดจะทาให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นได้ 
ที่มา http://www.kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-05.html
           1.6 ไฟฟ้าเกิดจากสนามแม่เหล็ก
           จากการทดลองของไมเคิล ฟาราเดย์นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษพบว่าเมื่อนำแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่านขดลวดหรือนำขดลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดนั้นและยังสรุปต่อไปได้อีกว่ากระแสไฟฟ้า จะเกิดได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 
          1) จำนวนขดลวด ถ้าขดลวดมีจานวนมากก็จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำมากด้วย 
          2) จำนวนเส้นแรงแม่เหล็ก ถ้าเส้นแรงแม่มีจานวนมากก็จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำมากด้วย 
          3) ความเร็วในการเคลื่อนที่ของแม่เหล็ก ถ้าเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กเร็วขึ้นก็จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้นาหลักการนี้มาคิดประดิษฐ์เป็นเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าหรือเยนเนอเรเตอร์(Generator)หลักการของเครื่องกาเนิดไฟฟ้าอาศัยตัวนาเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กจะเกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นในลวดตัวนำนั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น